บริหารจัดการอาคาร: ระบบระบายน้ำในบ้าน มีกี่ประเภท?ระบบระบายน้ำในบ้าน มีกี่ประเภท?
ระบบระบายน้ำในบ้าน / ระบบสุขาภิบาล มีหน้าที่ลำเลียงของเสียภายในบ้านลงสู่ท่อ ทั้งนี้ มีการแบ่งแยกระบบสุขาภิบาล ไว้ 5 ระบบ ดังต่อไปนี้
ระบบท่อระบายของเสียจากโถสุขภัณฑ์หรือจากโถปัสสาวะ ลงสู่ท่อและบ่อบำบัดของเสีย
ระบบท่อระบายน้ำเสียจากอ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า อ่างล้างจาน จากการการอาบน้ำ หรืออ่างอาบน้ำลงสู่ท่อ และบ่อบำบัดของเสีย
ระบบบ่อบำบัดของเสีย ทำหน้าที่บำบัดของเสียจากภายในบ้านให้ได้มาตรฐาน ก่อนจะปล่อยของเสียที่ได้รับการบำบัดแล้ว ลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะต่อไป
ระบบท่อระบายอากาศ ทำหน้าที่เพื่อป้องกันการเกิดสุญญากาศภายในท่อระบายน้ำ และช่วยให้การลำเลียงภายในท่อเป็นไปได้อย่างสะดวกมากขึ้น
ระบบท่อระบายน้ำภายนอกอาคาร ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ
ระบบระบายน้ำในห้องน้ำ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
ระบบระบายน้ำเสียจากห้องน้ำ พื้นห้องน้ำ อ่างล้างหน้า และอ่างล้างมือ โดยระบายน้ำลงท่อน้ำทิ้ง ผ่านบ่อบำบัดของเสีย และลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะต่อไป และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในระบบระบายน้ำเสียจากห้องน้ำ แบ่งเป็น 3 วิธี ดังต่อไปนี้
1.1) การติดตั้งท่อดักกลิ่น (P – Trap)
1.2) การใช้ฝาตะแกรงท่อระบายน้ำสำหรับดักกลิ่น
1.3) การติดตั้งท่อดักกลิ่นภายในอ้างล้างหน้า แบ่งเป็น 2 วิธีย่อย คือ ท่อดักตะกอนรูปถ้วย (Bottle Trap) และท่อระบายน้ำแบบ P – Trap
ระบบระบายน้ำหรือของเสียจากโถสุขภัณฑ์ ควรเลือกใช้ท่อน้ำทิ้งที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ขนาดตั้งแต่ 3 – 6 นิ้ว โดยระบายน้ำลงบ่อบำบัดของเสีย (Septic Tank) และลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะต่อไป ซึ่งระบบระบายน้ำหรือของเสียจากโถสุขภัณฑ์ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ระบบระบายน้ำหรือของเสียจากโถสุขภัณฑ์ตั้งพื้น ระบบระบายน้ำหรือของเสียจากโถสุขภัณฑ์แขวน และระบบระบายน้ำหรือของเสียจากโถสุขภัณฑ์ โดยใช้ระบบ Floor Flange
ข้อควรระวังในการใช้งาน / การติดตั้งระบบท่อระบายน้ำภายในบ้าน
ไม่ควรทิ้งขยะลงท่อระบายน้ำหรือโถสุขภัณฑ์ เพื่อป้องกันการอุดตันของขยะภายในท่อระบายน้ำ และความไม่สะดวกในการระบายน้ำ ดังนั้น ควรดูแลรักษาระบบท่อระบายน้ำภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอ
ปัญหาน้ำรั่วซึมภายในบ้าน เกิดขึ้นจากโครงสร้างของบ้านซึ่งไม่ได้มาตรฐาน หรือ การเลือกใช้วัสดุในการติดตั้งระบบท่อระบายน้ำภายในบ้านไม่ได้คุณภาพ / มาตรฐาน / ไม่เหมาะสม
วัสดุในการติดตั้งระบบท่อระบายน้ำภายในบ้านที่ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน และเหมาะสมต่อการใช้งาน
ท่อ PVC มีลักษณะคือ เป็นท่อพลาสติก มีความทนทาน มีความยืดหยุ่นสูง สามารถขึ้นรูปได้ง่าย และได้รับความนิยมในการเลือกใช้มากที่สุด เนื่องด้วยมีราคาไม่แพง ซึ่งท่อ PVC แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ
1.1) ท่อ PVC สีฟ้า มีความยืดหยุ่น แข็งแรง ความหนาของท่อ เช่น 5 มิลลิเมตร, 8.5 มิลลิเมตร, 13.5 มิลลิเมตร (เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับการปั๊มน้ำ เพื่อรองรับแรงดันน้ำและทนต่อแรงดึงดูดได้) เหมาะสำหรับใช้งานภายในบ้าน ข้อควรระวังสำหรับท่อ PVC สีฟ้า คือ ไม่ควรนำไปใช้งานในการเดินสายดิน / สายไฟเด็ดขาด
1.2) ท่อ PVC สีเหลือง เหมาะสำหรับใช้งานในการเดินสายดิน / สายไฟ เนื่องด้วยเป็นท่อที่มีสารกันไฟ และมีความยืดหยุ่น
1.3) ท่อ PVC สีเทา ลักษณะของท่อ คือ ความบาง มีความยืดหยุ่นน้อย และมีราคาถูก เหมาะสำหรับใช้งานสำหรับการเกษตร ข้อควรระวังสำหรับท่อ PVC สีเทา คือ หากโดนไฟ / ความร้อน จะทำให้ท่อ PVC จะหดตัว
ท่อไซเลอร์
ท่อ PPR
ท่อพีอี เอทิลิน
วิธีการเลือกวัสดุและวิธีการติดตั้งระบบท่อระบายน้ำภายในบ้านอย่างถูกต้อง
เลือกใช้งานท่อระบายน้ำที่ได้รับคุณภาพ มีมาตรฐาน ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม ไม่มีตำหนิเสียหาย เช่น รอยแตก รอยร้าว หรือสีของท่อหมองลง และควรสังเกตการประทับตรายี่ห้อลงบนท่อ สังเกตการระบุความหนาของท่อ และสังเกตขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ
เลือกใช้งานท่อระบายน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ท่อ PVC สามารถใช้งานร่วมกับน้ำที่อุณหภูมิปกติ ท่อทองแดง สามารถใช้งานร่วมกับน้ำที่อุณหภูมิสูง ท่อ PPR สามารถใช้งานร่วมกับน้ำที่อุณหภูมิปกติและอุณหภูมิสูง ท่อเหล็กที่มีความแข็งและทนทาน สามารถใช้งานร่วมกับท่อที่ต้องรองรับแรงดัน หรือใช้ร่วมกับวาล์วควบคุมการไหลเข้า – ออกของน้ำภายในเครื่องทำน้ำอุ่นหรืออ่างอาบน้ำ
เลือกใช้งานท่อระบายน้ำที่มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การใช้งานทั่วไปควรเลือกใช้ท่อที่มีความหนาของท่อ 8.5 มิลลิเมตร การใช้งานร่วมกับการปั๊มน้ำ เพื่อรองรับแรงดันน้ำและทนต่อแรงดึงดูดได้ ควรเลือกใช้ท่อที่มีความหนาของท่อ 13.5 มิลลิเมตร เป็นต้น ทั้งนี้ ควรเลือกขนาดการลดหลั่นของท่อให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน เช่น การใช้งานร่วมกับจุดวัดมาตรน้ำ หรือใช้งานร่วมกับปั๊มน้ำ ควรเลือกใช้ขนาดท่อ 1 ½ นิ้ว หรือ 1 นิ้ว และควรใช้ร่วมกับท่อลดหลั่นที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น ขนาดท่อ ¾ นิ้ว, ขนาดท่อ ½ นิ้ว ใช้งานร่วมกับโถสุขภัณฑ์, ขนาดท่อ 4 นิ้ว ใช้งานร่วมกับโถส้วมที่มีต้องมีความลาดเอียง เป็นต้น
วิธีการติดตั้งระบบท่อระบายน้ำภายในบ้านอย่างถูกต้อง
4.1) มีการวางแผนสำหรับการการติดตั้งท่อระบายน้ำ
4.2) วัดระยะการต่อท่อให้เหมาะสม เตรียมอุปกรณ์ในการติดตั้งท่อระบายน้ำให้ถูกต้อง เหมาะสม และทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ก่อนการทายาวประสานท่อ
4.3) ควรติดตั้งท่อระบายน้ำให้มีระยะสั้นที่สุด เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และง่ายต่อการติดตั้ง
4.4) ควรปิดกั้นท่อซึ่งต่อตรงกับโถสุขภัณฑ์ เพื่อป้องการอุดตันของขยะ ขณะทำการติดตั้งท่อระบายน้ำ
4.5) หากมีการติดตั้งท่อระบายน้ำแบบเทพื้น / ฉาบผนัง / ฝังท่อ ควรทดสอบการไหลเข้า – ออก ของน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด
4.6) หลังจากติดตั้งท่อระบายน้ำทั้งหมด ควรตรวจสอบจุดมาตรวัดน้ำ คือ บริเวณที่การไหลเข้า – ออกของน้ำจากภายนอกเข้าสู่ภายในบ้าน โดยการตรวจสอบ ควรมีการติดตั้งบอลวาล์ว และเกทวาล์ว โดยต้องติดตั้งก่อนและหลังจุดมาตรวัดน้ำ หากมีการติดตั้งปั๊มน้ำต้องติดตั้งบอลวาล์วและเกทวาล์ว ก่อนและหลังจุดมาตรวัดน้ำเช่นกัน และในส่วนของการตรวจสอบท่อระบายน้ำ ซึ่งใช้งานร่วมกับโถสุขภัณฑ์ คือ การทดสอบการไหลเข้า – ออกของน้ำถึงระดับที่กำหนดไว้ เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้ตามปกติ และการตรวจสอบที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง คือ การตรวจสอบปัญหาน้ำรั่วซึมภายในบ้าน
การแก้ไขปัญหาระบบระบายน้ำในบ้าน หากมีการต่อเติมบ้าน เช่น ปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณสนามหญ้าหรือพื้นที่ระหว่างรั้วและอาคาร ปัญหาการระบายน้ำไม่ทัน เป็นต้น ซึ่งการแก้ไขปัญหาระบบระบายน้ำในบ้าน สามารถแบ่งเป็น 6 วิธี ดังต่อไปนี้
การติดตั้งท่อระบายน้ำจากหลังคาบ้านลงสู่บ่อพักโดยตรง หากรางสำหรับระบายน้ำตั้งอยู่ห่างเกินไป
การขยายบ่อพักน้ำสำหรับการรองรับปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้น
การติดตั้งรางสำหรับระบายน้ำใหม่ / เพิ่มเติม เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้น
การติดตั้งรางสำหรับระบายน้ำและบ่อพักน้ำสำหรับการรองรับปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้นในดิน โดยมีการปรับระดับของหน้าดินให้มีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำไหลลงสู่บ่อพักน้ำได้ง่ายขึ้น
การติดตั้งระบบระบายน้ำลงสู่ท่อซับเดรน (Sub Drain Pipe) คือ ท่อที่สามารถรองรับน้ำที่ไหลและซึมลงใต้ดิน และระบายไปยังท่อพักน้ำต่อไป ซึ่งระบบระบายน้ำลงสู่ท่อซับเดรนเหมาะสำหรับพื้นที่สนามขนาดกว้าง
การขยายการติดตั้งระบบระบายน้ำลงสู่ท่อซับเดรน (Sub Drain Pipe)