ผู้เขียน หัวข้อ: โรคไตวาย (Kidney Failure, Renal Failure)  (อ่าน 22 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 249
  • โพสต์ขายของฟรี ลงโฆษณาสินค้าฟรี
    • ดูรายละเอียด
โรคไตวาย (Kidney Failure, Renal Failure)
« เมื่อ: วันที่ 3 ตุลาคม 2024, 16:24:55 น. »
โรคไตวาย (Kidney Failure, Renal Failure)

ไตวาย (Kidney Failure, Renal Failure) คือ ภาวะที่ไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือด ผู้ป่วยมักมีอาการเหนื่อยง่าย มึนงง ปัสสาวะน้อยลง มีอาการบวมที่ขาหรือเท้า ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถขับของเสียและน้ำออกมาผ่านทางปัสสาวะได้ จึงทำให้เกิดของเสียและน้ำตกค้างในร่างกาย

ไตวายแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง โดยอาการอาจต่างกันไป ทำให้วิธีการดูแลรักษาต่างกันไปด้วย ผู้ป่วยไตวายนั้นจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะของเสียที่ตกค้างในร่างกาย รวมถึงภาวะไม่สมดุลของระดับน้ำและแร่ธาตุของร่างกายจะส่งผลให้ระบบการทำงานของร่างกายเกิดความผิดปกติ หากปล่อยไว้อาจทำให้เสียชีวิตได้


อาการของโรคไตวาย

โรคไตวายอาจมีอาการที่แตกต่างกันไปตามชนิดของโรคดังนี้
ไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Failure หรือ Acute Renal Failure)

อาการจะเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด โดยเริ่มจากปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเลย ขาและเท้าบวม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกมึนงง อ่อนเพลีย หรือง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา นอกจากนี้อาจมีอาการปวดหลังบริเวณชายโครง หายใจถี่ บางรายอาจไม่แสดงอาการใด ๆ และกรณีรุนแรงอาจมีอาการชักหรือหมดสติเข้าสู่ภาวะโคม่าแบบเฉียบพลัน
ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure หรือ Chronic Renal Failure)

อาการจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว แต่จะค่อย ๆ แสดงอาการออกมาเป็นระยะ โดยระยะของไตวายเรื้อรังจะถูกแบ่งเป็น 5 ระยะตามระดับของค่าประเมินการทำงานของไต (Estimated Glomerular Filtration Rate – eGFR) หรือค่าที่ประมาณว่าในแต่ละนาทีไตสามารถกรองของเสียออกจากเลือดได้เท่าไหร่ ซึ่งคนปกติทั่วไปจะมีค่าประเมินการทำงานของไตอยู่ที่มากกว่า 90 มิลลิลิตรต่อนาที (ml/min)

ระยะของไตวาย มีดังนี้

ระยะที่ 1
ในช่วงแรกของอาการไตวายเรื้อรังจะไม่มีอาการแสดงให้เห็นชัดเจน ค่าการทำงานของไตในระยะแรกจะอยู่คงที่ประมาณ 90 มิลลิลิตรต่อนาทีขึ้นไป แต่อาจพบไตอักเสบหรือพบภาวะโปรตีนรั่วออกมาปะปนในเลือดหรือในปัสสาวะ

ระยะที่ 2
เป็นระยะที่การทำงานของไตเริ่มลดลง แต่มักจะยังไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็นนอกจากการตรวจค่าการทำงานของไต ซึ่งค่าการทำงานของไตจะเหลือเพียง 60–89 มิลลิลิตรต่อนาที

ระยะที่ 3
ระยะนี้จะแบ่งออกเป็นอีก 2 ระยะย่อย คือ 3A และ 3B ตามค่าการทำงานของไต โดย 3A จะมีค่าการทำงานของไตอยู่ที่ 45–59 มิลลิลิตรต่อนาที ส่วน 3B จะอยู่ที่ 30–44 มิลลิลิตรต่อนาที ซึ่งในระยะที่ 3 ก็มักจะยังไม่มีอาการใด ๆ สำแดงให้เห็น นอกจากค่าการทำงานของไตที่ทำงานลดลงอย่างต่อเนื่อง

ระยะที่ 4
อาการต่าง ๆ มักจะแสดงในระยะนี้ นอกจากค่าการทำงานของไตจะลดลงเหลือเพียง 15–29 มิลลิลิตรต่อนาทีแล้ว ผู้ป่วยอาจมีอาการมึนงง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวแห้งและคัน กล้ามเนื้อเป็นตะคริวบ่อยขึ้น อาจมีอาการบวมน้ำที่ตามข้อ ขา และเท้า ใต้ตาคล้ำ ปวดปัสสาวะบ่อยแต่ปริมาณปัสสาวะน้อยลง มีภาวะโลหิตจาง หรือรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวตลอดเวลา

ระยะที่ 5
เป็นระยะสุดท้ายของภาวะไตวาย ค่าการทำงานของไตจะลดลงเหลือน้อยกว่า 15 มิลลิลิตรต่อนาที นอกจากอาการจะคล้ายกับระยะที่ 4 แล้ว อาจมีภาวะโลหิตจางที่รุนแรงขึ้น และอาจมีการตรวจพบการเสียสมดุลของแคลเซียม ฟอสเฟต หรือสารต่าง ๆ ที่อยู่ในเลือด นำมาสู่ภาวะกระดูกบางและเปราะหักง่าย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิตได้


สาเหตุของโรคไตวาย

ไตวายสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลเสียต่อไตโดยตรงหรือส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ จนทำให้ไตเกิดการทำงานที่ผิดปกติตามไป โดยสาเหตุของไตวายทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังที่พบได้บ่อยมีดังนี้

    การสูญเสียเลือดหรือน้ำในร่างกายมากเกินไป ส่งผลให้ไตเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานลงอย่างเฉียบพลัน
    ความดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดที่ไหลเวียนเลือดไปที่ไตผิดปกติ หากมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นสาเหตุหนึ่งให้ไตเสื่อมได้ในที่สุด
    โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่งผลต่อไตทำให้ไตเสื่อม ผู้ป่วยเบาหวานจึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นไตวายเรื้อรัง
    อาการแพ้อย่างรุนแรง ทำให้ระบบการทำงานในร่างกายล้มเหลว ส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต
    การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายล้มเหลวอย่างหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว ตับล้มเหลว ซึ่งกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย ทำให้ไตได้รับเลือดไปไหลเวียนไม่เพียงพอ
    การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด เมื่อแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด เชื้อโรคเหล่านี้จะถูกพาไปยังไต ทำให้ไตถูกทำลาย
    ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยานาพรอกเซน (Naproxen) หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป หรือซื้อใช้เองโดยไม่อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร อาจนำมาสู่ภาวะไตเสื่อม
    ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ลิ่มเลือดอุดตันในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโตในเพศชาย นิ่วในไต หรือโรคมะเร็ง ส่งผลให้เกิดก้อนเนื้อหรือการอุดตันจนขัดขวางระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ไตขับปัสสาวะออกมาไม่ได้ และเกิดภาวะเสื่อมของไตในที่สุด
    ได้รับสารพิษสู่ร่างกาย ร่างกายจึงพยายามขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น และสารพิษบางชนิดอาจทำลายไตจนทำให้ไตวายได้

นอกจากจากนี้ โรคไตวายอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ อย่างโรคไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อก เกิดจากอุบัติเหตุโดยตรงที่บริเวณไต รวมถึงความเสื่อมของไตตามอายุก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้เช่นกัน


การวินิจฉัยโรคไตวาย

ไตวายเป็นอาการที่มักไม่มีสัญญาณเตือนให้รู้ล่วงหน้า แต่จะเริ่มแสดงอาการก็ต่อเมื่อประสิทธิภาพในการทำงานของไตลดลง โดยอาการที่เข้าข่ายว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการไตวายมากสามารถสังเกตได้ว่า รู้สึกเหนื่อยง่าย ปัสสาวะน้อยลง มีอาการบวมที่ขาหรือเท้า ผิวหนังมีรอยช้ำง่ายกว่าปกติหรือมีเลือดไหลออกง่ายกว่าปกติ

หากพบความผิดปกติที่อาจเป็นอาการของไตวาย แพทย์จะส่งตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อระบุให้แน่ชัดว่าเป็นโรคไตวายหรือไม่ หรือตรวจดูว่าผู้ป่วยมีอาการอยู่ในระยะใด โดยวิธีการตรวจมีดังนี้


การตรวจปัสสาวะ

แพทย์จะตรวจปัสสาวะเพื่อดูปริมาณของปัสสาวะที่ร่างกายขับออกมา โปรตีนหรือเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวที่ปะปนออกมากับปัสสาวะ ซึ่งบอกได้เบื้องต้นว่าไตยังทำงานได้ดีหรือไม่


การตรวจเลือด

จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการกรองของไต หากมีภาวะไตวาย ปริมาณไนโตรเจน กรดยูเรีย (Blood Urea Nitrogen, BUN) และครีเอทินิน (Creatinine, Cr) ที่เป็นของเสียมาจากกล้ามเนื้อจะตกค้างในเลือดสูง โดยค่าปกติของคนทั่วไปจะอยู่ที่

    BUN: ประมาณ 5–20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
    Cr: ประมาณ 0.6–1.2  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้ชาย และ 0.5–1.1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในผู้หญิง

การหาค่าประเมินการทำงานของไต (eGFR)

แพทย์อาจมีการหา eGFR เพิ่มเติมด้วย ซึ่งค่าดังกล่าวคือค่าที่จะแสดงให้เห็นว่าในแต่ละนาทีไตสามารถกรองเลือดได้เท่าใหร่ โดยค่าปกติของคนทั่วไปที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับไตจะอยู่ที่ 90 มิลลิลิตรต่อนาทีขึ้นไป

การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) และการตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound)

การตรวจนี้จะแสดงให้เห็นภาพไตของผู้ป่วย ทำให้แพทย์สังเกตเห็นถึงความผิดปกติของไต และระบบทางเดินปัสสาวะได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยปกติแล้วมักจะใช้ร่วมกับวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

นอกจากนี้แพทย์อาจผ่าตัดหรือใช้เข็มเจาะนำเอาตัวอย่างชิ้นเนื้อของไตไปตรวจในห้องปฏิบัติการเฉพาะเพื่อดูความผิดปกติ วินิจฉัยร่วมกับผลตรวจอื่น ๆ และลักษณะทางกายภาพของผู้ป่วย ทำให้สามารถวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติของไตหรือไม่ และถ้ามี เป็นไตวายชนิดใด


การรักษาโรคไตวาย

ภาวะไตวายเป็นอาการที่มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง จึงอาจมีลักษณะการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนี้

ไตวายเฉียบพลัน
อาการไตวายที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ วิธีการรักษาภาวะไตวายเฉียบพลันจึงจะต้องรักษาที่ต้นเหตุ และผู้ป่วยอาจต้องทำการฟอกไตจนกว่าการทำงานของไตจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในระหว่างที่รักษาต้นเหตุ อีกทั้งแพทย์อาจทำงานร่วมกับนักโภชนาการ เพื่อปรับเปลี่ยนการรับประทานที่ไม่ทำให้ไตทำงานหนักจนเกินไป

หากรักษาอาการไตวายแบบเฉียบพลันได้ตรงจุดก็อาจทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ในระยะเวลาไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ แต่บางรายที่ไตมีความเสียหายร้ายแรง อาการไตวายอาจเปลี่ยนจากไตวายเฉียบพลันเป็นไตวายเรื้อรังได้ ในกรณีนี้ แพทย์จะตรวจวินิจฉัยถึงระยะของไตวายและวางแผนการรักษาใหม่อีกครั้ง

ไตวายเรื้อรัง
การรักษาอาการไตวายเรื้อรังที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต โดยระหว่างการรอการปลูกถ่ายไตจะต้องมีการรักษาเพื่อประคับประคองอาการไปก่อนด้วยการใช้ยา เพื่อรักษาหรือควบคุมไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ไตยิ่งทำงานแย่ลง เช่น การใช้ยาเพื่อรักษาสมดุลกรดด่างในร่างกาย ควบคู่กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงของผู้ป่วยเบาหวาน หรือควบคุมระดับความดันโลหิตสูง และปริมาณไขมันในเลือด

นอกจากนี้ ยังมีวิธีการรักษาที่จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงใหญ่ ๆ ตามระยะของอาการดังนี้

ไตวายในระยะที่ 1–3 เป็นระยะไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่จำเป็นที่จะต้องพบแพทย์ เพื่อตรวจระบบการทำงานของไต โดยแพทย์จะนัดเพื่อตรวจค่าการทำงานของไตเป็นระยะ ๆ หรือกรณีที่เริ่มมีค่าการทำงานไตที่ลดลงมากขึ้น อาจมีการตรวจเลือดถี่ขึ้น เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

ไตวายในระยะที่ 4–5 เป็นระยะที่ไตทำงานลดลงอย่างมากจะต้องใช้การรักษาหลาย ๆ วิธีร่วมกัน เพื่อประคับประคองอาการให้อยู่ในระดับคงที่ในระหว่างที่รอการผ่าตัดปลูกถ่ายไต อีกทั้งต้องมีการเฝ้าระวังภาวะบวมน้ำ ภาวะกระดูกเปราะบาง โรคโลหิตจาง และการติดเชื้อในไตร่วมด้วย

ในปัจจุบันการรักษาไตวายที่ใช้มี 2 วิธี ได้แก่

การฟอกไต (Dialysis)

เมื่อการทำงานของไตลดลงจนไตไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากเลือดได้ แพทย์จะใช้การฟอกไตเพื่อกำจัดของเสียที่อยู่ภายในเลือดแทน โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการฟอกไตจะจำลองการทำงานของไต สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้

    การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) เป็นการใช้อุปกรณ์หรือที่เรียกว่าไตเทียม ในขั้นแรกแพทย์จะผ่าตัดสร้างเส้นเลือดเชื่อมต่อระหว่างเครื่องกับหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง เพื่อให้เลือดหมุนเวียนเข้าไปในเครื่องและถูกฟอกให้สะอาดก่อนที่จะถูกหมุนเวียนกลับเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะต้องได้รับการฟอกไตประมาณสัปดาห์ละ 2–3 ครั้ง ครั้งละ 3–4 ชั่วโมง ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
    การฟอกไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) เป็นการฟอกไตโดยใช้เนื้อเยื่อที่บริเวณช่องท้องในการกรองของเสียออกจากเลือดแทนไต ร่วมกับน้ำยาฟอกไต วิธีนี้สามารถทำได้เองที่บ้าน และผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติในขณะที่ฟอกไต การฟอกไตด้วยวิธีนี้อาจต้องทำวันละ 3–4 ครั้ง โดยก่อนที่มีการฟอกไตด้วยวิธีนี้ แพทย์จะต้องทำการผ่าตัดเล็กเพื่อใส่ท่อเข้าไปที่บริเวณช่องท้อง เมื่อต้องฟอกไต ผู้ป่วยจะต้องเติมน้ำยาฟอกไตเข้าไป จากนั้นระบบไหลเวียนของเลือดจะทำให้ของเสียและน้ำส่วนเกินออกมาอยู่ในช่องท้อง เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดก็ระบายน้ำส่วนเกินพร้อมกับของเสียออกมาภายนอก

เนื่องจากการฟอกไตจะมีผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ อาเจียน หน้ามืด และวิธีการฟอกไตบางอย่างอาจไม่เหมาะกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยอีกด้วย จึงต้องให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและตัดสินใจร่วมกันกับผู้ป่่วยว่าวิธีการฟอกไตแบบไหนเหมาะสมมากที่สุด เพราะหากการฟอกไตได้ผล ระดับของเสียในร่างกายที่สะสมอยู่จะลดลงได้

ผู้ป่วยที่เริ่มได้รับการฟอกไตควรมีการดูแลตนเองควบคู่ไปด้วย โดยให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม อาหารที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม จำกัดการบริโภคอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ดื่มน้ำในปริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย และที่สำคัญควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงขึ้น เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ทั้งนี้ ปริมาณอาหารและน้ำที่เหมาะสมจะต่างกันไป ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง


การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant)

แม้ผู้ป่วยจะได้รับการฟอกไตแล้ว แต่ภาวะไตวายเรื้อรังจะไม่หายไป จึงต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเท่านั้น การปลูกถ่ายไตมีความยุ่งยากซับซ้อนหลายประการ อีกทั้งจำนวนไตที่ได้รับการบริจาคมักมีน้อยกว่าผู้ที่รอรับการบริจาค และไตที่ได้รับจากการบริจาคมาจะต้องเข้ากับร่างกายของผู้ป่วยได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตมีอัตราการรอดชีวิตในระดับที่สูงมาก ส่วนใหญ่จะมีชีวิตต่อไปได้มากกว่า 10 ปี

เห็นได้ว่าผู้ป่วยไตวายชนิดเฉียบพลันอาจสามารถรักษาให้หายได้ แต่ไตวายชนิดเรื้อรังต้องรักษาอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไต หากไม่ได้รับการปลูกถ่ายไตก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการฟอกไตไปตลอดชีวิต


ภาวะแทรกซ้อนของโรคไตวาย

ไตวายเป็นอีกภาวะหนึ่งที่สามารถเกิดอาการแทรกซ้อนได้ ซึ่งอาการอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยอาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยแบ่งตามชนิดของไตวายมีดังนี้


ภาวะแทรกซ้อนจากไตวายเฉียบพลัน

ไตวายเฉียบพลันอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น

    ภาวะน้ำท่วมปอด
    ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถส่งผลให้เกิดของเหลวส่วนเกินภายในร่างกายล้นเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดจนกลายเป็นภาวะน้ำท่วมปอด ทำให้หายใจลำบาก และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
    เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    เมื่อร่างกายไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ ของเสียจะคั่งอยู่ในกระแสเลือด หากของเสียเหล่านั้นเข้าสู่หัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจนทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอกได้
    กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    ภาวะไตวายจะทำลายสมดุลของสารต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะโพแทสเซียมที่คั่งค้างเพราะร่างกายไม่สามารถขับออกไปจากร่างกายได้ หากร่างกายมีโพแทสเซียมสะสมในเลือดมากเกินไป อาจกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อทุกส่วน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ และส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นได้
    ไตถูกทำลายอย่างถาวร ในภาวะไตวายเฉียบพลัน ไตอาจยังไม่ถูกทำลาย แต่ถ้าได้รับการรักษาที่ล่าช้าก็จะทำให้ไตถูกทำลายอย่างถาวรและกลายเป็นไตวายเรื้อรังได้

ภาวะแทรกซ้อนจากไตวายเรื้อรัง

อาการจากไตวายเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังนี้

    โรคหัวใจและหลอดเลือด
    ไตวายเรื้อรังจะส่งผลโดยตรงต่อระบบไหลเวียนเลือด และเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบแข็งมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองได้
    โรคโลหิตจาง
    นอกจากภาวะไตวายเรื้อรังจะทำให้มีของเสียตกค้างในกระแสเลือดมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ไตไม่สามารถผลิตฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงได้จนทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง
    โรคกระดูกพรุน
    เมื่อการทำงานของไตลดลงจากภาวะไตวายเรื้อรัง ฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณแคลเซียมในกระดูกก็จะบกพร่องไปด้วย ส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้มากกว่าคนปกติ


การป้องกันโรคไตวาย

การป้องกันและชะลอการเกิดภาวะไตวายสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และลดปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อไตในระยะสั้นและระยะยาว เช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการได้รับควันบุหรี่มือสอง เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านการอักเสบติดต่อกันเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ ให้ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยควรออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลางให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที เพื่อลดปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะไตวาย เช่น ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้ที่ป่วยด้วยโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไขมันในเลือด ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นและทำให้การทำงานของไตหนักขึ้น หรือทำให้ไตเสื่อมสภาพลง

 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า