มอเตอร์โชว์: ORA 07 LONG RANGE ช่วงล่างแน่น วิ่งเยอะสุดในกลุ่ม ออปชั่นคุ้มค่า ราคาแค่เอื้อมORA 07 LONG RANGE ผมกล้าบอกเลยว่าเป็นรถที่ความคุ้มค่ามากที่สุดในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าล้วนราคาระดับนี้ สำหรับผู้ที่เล็งรถยนต์ไฟฟ้าไว้ใช้ในครอบครัว และอาจจำเป็นต้องมีเพียง 1 คัน ในบ้าน รุ่นนี้เหมาะสมพอสมควร เพราะอะไร? (เต้นแบบพี่น้อยเลย) มันคุ้มตั้งแต่ราคา 1,299,000 บาท ความจริงมีแคมเปญพิเศษอีกด้วย ถัดมากคือพละกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าระดับ 204 แรงม้า แรงบิดที่ 340 นิวตันเมตร ถือว่าเกินพอใช้งานแล้ว อัตราเร่งปรื้ดปราดแบบมอเตอร์ไฟฟ้าไม่รอบรอบ แรงบิดระดับนี้เทียบเท่ากับรถสปอร์ตระดับหรู
ORA 07 มิติตัวรถ 1,862 x 4,871 x 1,500 มิลลิเมตร (กว้าง x ยาว x สูง) ระยะฐานล้อ 2,870 มิลลิเมตร ระยะความสูงใต้ท้องรถ (Ground Clearance) 125 มิลลิเมตร น้ำหนักรถ 2,115 กิโลกรัม ระบบกันสะเทือนหน้าแบบอิสระแมคเฟอร์สัน และระบบกันสะเทือนหลังแบบมัลติลิงก์ เป็นซีดานไฟฟ้าที่มีความสปอร์ต ทั้งภายนอกภายในให้ความรู้สึกแบบรถสปอร์ตพรีเมี่ยม แม้จะมีความคล้าย แต่ก็ทำออกมาได้ดี ในรุ่นนี้ภายนอกเพรียว มนโค้ง พร้อมกับระบบไฟทันสมัยทันคัน หลังคาพาโนรามิค กระจกยาวแบ่ง 2 ตอน จรดฝาท้าย แม้จะร้อน ๆ หัวบ้างเวลาแดดจัด แต่ก็มีแอร์ทั่วถึงทั้งตอนหน้าตอนหลัง รุ่นนี้จะไม่มีสปอยเลอร์กระดก (ขอเก็บไว้ให้รุ่น Performance) และล้ออัลลอย 18 นิ้ว ใหญ่สมตัว แทบไม่ต้องแต่งอะไรเพิ่มแล้ว
ระบบความสะดวกสบายครบ
แม้เป็นรุ่นเริ่มต้นแต่ให้ฟังด์ชั่นความสะดวกสบายมากแบบเต็ม ๆ หน้าจอกลางอัจฉริยะแบบสัมผัสขนาด 12.3 นิ้ว ซึ่งรองรับความบันเทิงได้ทั้ง Apple CarPlay, Android Auto, MP5, Bluetooth, ระบบนำทาง, และแสดงข้อมูลการขับขี่ โดยหน้าจอกลางอัจฉริยะนี้สามารถเชื่อมต่อกับหน้าจอแสดงผลข้อมูลการขับขี่แบบดิจิทัลขนาด 10.25 นิ้ว รองรับคำสั่งเสียง "สวัสดีโอร่า" กล่องเก็บของ กล่องใสแว่นตา กระจกมองหลังปรับแสงอัตโนมัติ ที่ชาร์จโทรศัพท์ไร้
พวงมาลัยปรับแบบไฟฟ้า 4 ทิศทาง พร้อมสวิตช์ควบคุมเครื่องเสียงและสวิตช์ควบคุมจอแสดงข้อมูลการขับขี่ เกียร์อัตโนมัติแบบ Electronic Shifter ชุดเกียร์ไฟฟ้าด้านหลังพวงมาลัย และระบบ Intelligent Quick Start System ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้พร้อมออกเดินทางได้ทันทีเมื่อขึ้นมานั่งที่เบาะคนขับและเหยียบเบรก
โหมดการขับขี่ทั้ง 5 โหมดเป็นไปอย่างง่ายดาย ได้แก่ โหมดประหยัด โหมด WELL BEING, โหมดปกติ, โหมดสปอร์ต และโหมดส่วนบุคคล พร้อมเเลือกเปิดสียงสังเคราะห์จำลองเสียงเครื่องยนต์ หลังคาแก้วแบบพาโรนามิคขนาดใหญ่ (Panoramic Glass Roof) ตั้งแต่ด้านหน้าจรดท้าย ที่เป็นวัสดุช่วยเก็บเสียง โดยตัวหลังคาที่เป็นกระจกยังช่วยลดแสงและความร้อน ระบบปรับอากาศอัตโนมัติพร้อม PM2.5 filter
ระบบช่วยเหลือและความปลอดภัยเด่นๆ
อันคือ สุดจริงด้วย โครงสร้างของ ORA 07 รับน้ำหนักได้ถึง 9.5 ตัน
กล้อง 360 องศา ชัดแจ๋ว
ระบบควบคุมความเร็วแปรผันความเร็วต่ำและสูง พร้อมช่วยเข้าโค้ง
ระบบช่วยเตือนออกนอกเลนพร้อมดึงกลับ
ระบบเตือนก่อนการชนด้านหน้าและเบรกฉุกเฉินที่ความเร็วต่ำ
ระบบเตือนมุมอับสายตา
ระบบเตือนขณะถอยหลังพร้อมเบรกอัตโนมัติ
ระบบแจ้งเตือนเมื่อเปิดประตู
ระบบเตือนลมยาง
ระบบ S.O.S ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน เป็นต้น
ข้อมูลมอเตอร์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ มอเตอร์กำลังสูงสุด 204 แรงม้า แรงบิด 340 นิวตันเมตร ขับเคลื่อนล้อหน้า ความเร็วสูงสุดจำกัดที่ 170 กม./ชม. แบตเตอรี่ลิเธียม Ternary ความจุ 83.499 kWh วิ่งได้ 640 กม. (NEDC) ซึ่งหากจะวัดเอาระยะทางที่วิ่งจริงก็หักลบไป 80-100 กม. ไว้ก่อนเลยครับ
กลมกล่มมากกับ 200 ม้าเกินพอ ช่วงล่างแน่นมั่นใจ
ความกลมกล่อมคือ ไม่แรงเกินไป อัตราเร่งดีมาก เพียงพอใช้งาน ช่วงล่างที่หนึบ ๆ แน่น ออกไปทางแข็งนิด ๆ แต่ขับแล้วมั่นใจ ควบคุมง่าย สบายใจไม่ต้องเกร็งมือในการบังคับพวงมาลัย กำลังระดับ 200 ม้า เกินพอใช้งานในชีวิตประจำวันแล้ว ด้วยอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. วัดด้วยแอปฯ ทำเวลาได้ประมาณ 7-8 วินาที สำหรับคันใหญ่แบบนี้ ถือว่าดีมาก
การกดคันเร่งแรง ๆ มีอาการเอี๊ยดล้อฟรีให้รู้สึก แต่ด้วยช่วงล่างที่แน่น ๆ จึงไม่ทำให้รถมีอาการหน้าส่ายหรือดื้นเท่าไหร่ ยังควบคุมได้ง่าย นอกจากนี้ยังมาพร้อม 5 โหมดให้เลือก คือ โหมดประหยัด-คันเร่งจะหน่วงช่วงแรก ๆ แต่ถ้าเพิ่มน้ำหนักเท้าไปอีกก็จะเร่งได้ทันใจ
โหมด WELL BEING-สามารถตั้งค่ากำหนดการใช้งานฟังก์ชั่นสะดวกสบายต่าง ๆ ได้ เช่น เปิด-ปิดปัดน้ำฝน ไล่ฟ้า ฯลฯ และยังเป็นโหมดสำหรับผู้เริ่มต้นขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าครั้งแรก โดยที่คันเร่งจะไม่มีการหน่วง เรียกว่าเหมือนขับรถสันดาปเป๊ะเลย
โหมดปกติ-คันเร่งจะตึงขึ้นเล็กน้อย จะตอบสนองเร็วขึ้น แต่ก็ยังมีความหน่วงอยู่บ้างและระบบรีเจนฯ KERS ก็จะเป็นค่าจากโรงงานคือ หน่วงมากนั่นเอง อันนี้แนะนำว่าต้องฝึกน้ำหนักเท้าในการเหยียบหรือผ่อนไม่นุ่มนวล ไม่เช่นนั้นผู้โดยสารอาจจะเมารถแน่นอน
โหมดสปอร์ต-สปอร์ตเพิ่มการตอบสนองคันเร่งให้ "ตึง" และรวดดเร็ว แตะพุ่ง ๆ ทันใจมาก เหมาะกับคนที่ขับจนชินและชินและชำนาญแล้ว เพราะมันเร่งไว้มาก ๆ
โหมดส่วนบุคคล-โหมดนี้ดีสุดในเรื่องการตั้งค่าได้เองตามต้องการ ทั้ง น้ำหนักพวงมาลัย ความหน่วงคันเร่ง จำกัดความเร็วสูงสุดที่ 150 กม./ชม. นับเป็นโหมดที่เลือกให้ตรงกับความชอบผู้ขับได้เองเลยครับ
ระดับแบตฯ ในการการใช้งานจริง
คงต้องบอกว่าขึ้นกับสภาพการจราจรและการใช้น้ำหนักคันเร่ง แต่โดยรวมที่ได้ขับมานั้นเมื่อชาร์จไฟเต็มที่ 100% ระยะทางบนมาตรวัด 640 กม. ขับไป 231 กม. ระดับแบตฯ คงเหลือ 51% และระยะทางคงเหลือ 317 กม. เท่ากับระยะ 640 กม. ใช้ไป 231 กม. แสดงว่าจะต้องเหลือ 409 กม.
แต่เมื่อนำมาคำนวนแบบง่าย ๆ 409 กม. นำมาหักที่เหลือ 317 กม. ดังนั้น ระยะทางจริงหายไป 92 กม.* กลายเป็นเหลือระยะทางที่วิ่งได้จริง ๆ แบบไม่จกตาอยู่ที่ 548 กม.
(*เป็นการประมาณ แต่จากสภาพการขับขี่ การจราจรและปัจจัยอื่น ๆ เช่น รถติด ใช้คันเร่งมาก-น้อย แตกต่างกันไป)
สรุปคือ 490 กม. วิ่งจริง ๆ 540 กม. สำหรับกำลัง 200 แรงม้า คันใหญ๋โตหนัก 2 ตันกว่า ก็หรูแล้วครับ
ฟังก์ชั่นเพียบ ความปลอดภัยเยอะแต่ก็ต้องปิดบางตัว!
ฟังก์ชั่นใช้งานเยอะสิ่งที่น่าจะตรงกับการใช้งานในทุก ๆ วันมากที่สุดคือ การเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนแบบไร้สาย ที่ใช้ง่ายมาก แต่ข้อเสียคือ หากเราใช้งาน Google Map อยู่แล้วจำเป็นต้องเปิดสมาร์ทโฟนที่กำลังเล่นเพลงหรือคลิปต่าง ๆ เสียงจะเปิดผ่านระบบในรถ แต่เมื่อปิด ระบบจะค้างเสียงจากมัลติมิเดียที่เพิ่งเปิดไป จะต้องกดกลับไปฟังเพลงจากวิทยุเองและถ้าหากสั่งด้วยคำสั่งเสียงให้เปิด "วิทยุ" หน้าจอจะค้างไว้ที่ "วิทยุ" จะไปกลับไปหน้าเชื่อมต่อมือถือ ต้องกดเอง ตรงนี้อาจทำให้ยุ่งยากพอสมควรครับ
อีกระบบที่อาจใช้งานยากคือ การปรับช่องแอร์ ต้องเข้าหน้าจอเท่านั้นและมีเมนูให้เลือกไม่กี่แบบ เช่น ปัดซ้าย-ขวา, ขึ้น-ลง (แบบสวิง), แบบเป่าตรง ๆ (แต่มันไม่ตรงตำแหน่งคนนั่งนะ) แบบไร้ความรู้สึก (ใครตั้งชื่อก่อน) คือการกระจายลมไม่ให้โดนตัวประมาณนัน้ครับ แต่เท่าที่ใช้งานมา ผมว่าปรับแบบ สวิง ซ้าย-ขวา ดีที่สุดเพราะมันกระจายลมได้ทั่วและเย็นเร็วดีครับ ที่วางแก้วน้ำเล็ก ตื้น และมีช่องเดียว ต้องตบตีกับคนนั่งข้าง ยิ่งถ้าเป็นคนตัดสินใจ เราผลขับต้อง "ยอมจำนนให้เค้าไปครับ'' อย่าไปหืออออ
ช่องใส่โทรศัพท์พร้อมชาร์จอันดีล็อคแน่นไม่ตกง่าย ๆ แต่ถ้าใช้เครื่องใหญ่ ๆ จะชาร์จไม่ได้หรือบางทีก็เสียบไม่ได้เลยครับ อาจจะต้องปรับปรุงให้กว้างขึ้นนะ หรือไปใช้ตำแหน่งอื่น ส่วนช่องวางของใต้คอนโซลกลาง ถือว่าดี มีกันลื่น วางได้ไม่ต้องกลัวของตก และมีช่องเสียบ USB 2 ฝั่งด้วย
ความปลอดภัยที่มาแบบจัดเต็มแต่ก็ยังใช้งานจริงในถนนเมืองไทยได้ไม่ครบ เพราะการจราจรไม่เหมาะสม เช่น ระบบเตือนและเบรกที่ความเร็วต่ำ จะทำงานตลอดที่มีรถมีเบียด แทรกหรือขับโฉบ ๆ มาใกล้ ๆ โดยเฉพาะรถมอเตอร์ไซค์ที่ขับมีเข้าด้านหน้า รถตจะเบรกแบบสุดตัวทันที ทำให้กลังว่าคันด้านหลังจะจูบก้นเอาได้ จึงต้องปิดระบบนี้ เหลือแค่เตื่อนชนด้านหน้าความเร็วปกติครับ
ระบบเตือนและดึงกลับเมื่อออกนอกเลนก็เช่นกัน แค่ขับเบี่ยงหลบหลุม ฝาท่อ เลนจรจราเบี่ยง ก็จะต้องสู้กับแรงดึงกลับพอสมควร จึงต้องปิดไปก่อนครับ เอาไว้ขับทางไกลยาว ๆ รถน้อย ๆ หรือบนทางด่วนค่อยใช้อีกครั้งครับ ส่วนระบบควบคุมความเร็วแปรผันก็ควรใช้ในถนนโล่ง บนทางด่วน เพราะ การเว้นระยะด้านหน้าจะเยอะมากแม้จะตั้งค่าใกล้สุด จนกลายเป็นช่องวางให้รถเข้ามาแทรกตลอดเวลา ปิดไปอีกระบบ!
สรุปความคุ้มค่า
ORA 07 LONG RANGE ช่วงล่างแน่นขับแล้วมันใจไม่เบาหวิวเวลาใช้ความเร็วสูง ๆ มีระยะวิ่งที่เยอะสุดในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าซีดานคันใหญ่ระดับเดียวกับที่มีราคาไม่เกิน 1.5 ล้าน ในไทย และออปชั่นคุ้มค่าครบถ้วนเกือบจะเป็นตัวท็อปแล้ว กับราคาแค่เอื้อม อยู่ที่ 1,299,000 บาท นับว่าน่าสนใจเป็นรถที่ "กลมกล่อม" จริง ๆ ครับ
ใครสนใจต้องไปทดลองขับ นั่ง ใช้งานดูฟังก์ชั่นต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจและตอนนี้มีแคมเปญดี ๆ อีกด้วยครับ