ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: สัญญาณบอกโรคไต รู้ก่อนรักษาก่อนโรคไตยังคงเป็นโรคร้ายที่อยู่ใกล้ตัวที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสาเหตุสำคัญของโรคเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตนเอง ในส่วนของการเฝ้าระวังยังมีสัญญาณบางอย่างที่บอกได้ว่าไตเริ่มมีปัญหา เพื่อสังเกตตัวเองและทำการรักษาได้ทัน
สัญญาณบอกโรคไตที่สำคัญ คืออาการปวดศีรษะในคนอายุน้อย
ลักษณะอาการปวดศีรษะที่เกี่ยวข้องกับโรคไต คือปวดตับ ๆ บริเวณขมับหรือท้ายทอย
หากมีอาการปวดศีรษะตามที่กล่าวมา ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันโลหิต
ผู้ป่วยโรคไตมักมีความดันโลหิตที่สูง
นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นที่เป็นสัญญาณโรคไต ได้แก่ ปัสสาวะผิดปกติมีฟองมาก ปวดบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง มีจ้ำเลือดตามร่างกาย บวมตามตัวและใบหน้า ผมร่วงผิดปกติ ในเพศชายอาจอวัยวะเพศไม่แข็งตัว
สัญญาณเตือนโรคไต พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยง !
ไต อวัยวะส่วนหนึ่งในร่างกายที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเหลือง จะอยู่บริเวณกระดูกชายโครงทั้ง 2 ข้าง มีหน้าที่ในการขับของเสียที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ รวมไปถึงมีหน้าที่ในการรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ สร้างสารที่มาควบคุมความดันเลือด และกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้น ไต จึงเป็นอวัยวะอีกหนึ่งส่วนที่มีความสำคัญ ที่จะต้องได้รับการดูแลทั้งเรื่องอาหารและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้การทำงานของไตนั้นมีประสิทธิภาพลดลงจนไตล้มเหลวได้ ดังนั้นควรสังเกตุ สัญญาณเตือนโรคไต ให้ดี
สัญญาณเตือนโรคไตรู้ก่อนรักษาก่อน
สัญญาณเตือนโรคไต พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยง
สัญญาณเตือนโรคไต ระยะเริ่มต้น
ปัสสาวะเป็นเลือด
ปัสสาวะเป็นฟอง
ปัสสาวะช่วงกลางคืนบ่อยครั้ง
อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
มีอาการบวมบนใบหน้าและเท้า
เบื่ออาหาร
มีอาการขมปาก ขมคอ ไม่สามารถรับประทานอาหารได้
พฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคไต
1. รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
อาหารที่มีโซเดียมสูงเกินไปนอกจากจะมีผลต่อการทำงานของไตแล้วยังส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูงหรือเส้นเลือดสมองแตก
2. รับประทานอาหารสำเร็จรูป
อาหารสำเร็จรูปหรืออาหารกระป๋อง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่วนใหญ่จะมีปริมาณโซเดียมมากกว่าปกติทำให้มีความเสี่ยงต่อการทำงานของไต
3. ดื่มน้ำน้อย
การดื่มน้ำน้อยทำให้ปัสสาวะมีสีที่เข้มมากขึ้นส่งผลให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำจนทำให้ไตต้องทำงานหนัก อาจเสี่ยงภาวะไตวายและโรคระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
4. น้ำหนักมากเกินไป
ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากจนเกินไปก่อให้เกิดโรคอ้วนซึ่งจะมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอย่างเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุของโรคไต
5. ซื้อยารับประทานเอง
การซื้อยามารับประทานเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกายจากร้านขายยาไม่ว่าจะเป็นยาแผนปัจจุบันหรือยาสมุนไพรบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิดโรคไตได้ จำเป็นต้องมีการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาทุกครั้งโดยเฉพาะการกินต่อเนื่อง
6. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ต่อเนื่องอาจมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคไตตามมาได้
สัญญาณเตือนโรคไต พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยง
วิธีป้องกันโรคไตเบื้องต้น
ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยว
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด
ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
หลีกเลี่ยงการรับประทานยาติดต่อกันนาน ๆ โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้อักเสบแก้ปวด
ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
โรคไตในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็น แต่ไม่ควรมองข้ามหากมีความเสี่ยงหรือพฤติกรรมที่เคยชินที่อาจส่งผลต่อการทำงานของไต เช่น รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีโรคประจำตัว ดังนั้นเพื่อป้องกันสุขภาพการทำงานของไตจึงต้องมีการตรวจสุขภาพประจำปีหาความเสี่ยงของโรคไตในระยะเริ่มต้นเพื่อให้รักษาได้ทันท่วงทีและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง