ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: เบาหวาน (Diabetes mellitus/DM)  (อ่าน 4 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 245
  • โพสต์ขายของฟรี ลงโฆษณาสินค้าฟรี
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: เบาหวาน (Diabetes mellitus/DM)
« เมื่อ: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2024, 18:19:20 น. »
ตรวจอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง: เบาหวาน (Diabetes mellitus/DM)

เบาหวาน เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนำน้ำตาลไปใช้ประโยชน์อันเกี่ยวเนื่องกับความบกพร่องของฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งก่อให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา

ในบ้านเราพบโรคนี้ประมาณร้อยละ 9 ของประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และพบเป็นมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ผู้ที่มีอายุ 15-29 ปีพบได้ประมาณร้อยละ 2 ในขณะที่อายุ 60-69  ปีขึ้นไปพบได้ถึงร้อยละประมาณ 20

ผู้ที่เป็นเบาหวานมักมีประวัติว่ามีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ และมักมีภาวะน้ำหนักเกินร่วมด้วย

สาเหตุ

เกิดจากความพบพร่องของฮอร์โมนอินซูลิน

อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยตับอ่อน (ส่วนที่เรียกว่า บีตาเซลล์) ทำหน้าที่ช่วยนำน้ำตาลหรือกลูโคสในเลือด (ซึ่งได้จากอาหารที่กิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกแป้ง คาร์โบไฮเดรต ของหวาน) เข้าสู่เซลล์ทั่วร่างกาย เพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงานสำหรับการทำหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ

ผู้ที่เป็นเบาหวานจะพบว่าตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย หรือผลิตได้ปกติ แต่ประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง (เรียกว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือ insulin resistance เช่นที่พบในคนอ้วน) เมื่อขาดอินซูลินหรืออินซูลินทำหน้าที่ไม่ได้ น้ำตาลในเลือดจึงเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ได้น้อยกว่าปกติ จึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือด และน้ำตาลก็ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ จึงเรียกว่า เบาหวาน

ผู้ป่วยที่เป็นมาก คือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก มักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำต้องคอยดื่มน้ำบ่อย ๆ และเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงานจึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ทำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง

นอกจากนี้ การมีน้ำตาลในเลือดสูงนาน ๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย

เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิด ซึ่งมีสาเหตุ ความรุนแรง และการรักษาต่างกัน ที่สำคัญได้แก่

1. เบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus) เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี แต่ก็อาจพบในผู้สูงอายุได้บ้าง ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้จะผลิตอินซูลินไม่ได้เลยหรือได้น้อยมาก เชื่อว่าร่างกายมีการสร้างสารภูมิต้านทานขึ้นต่อต้านทำลายตับอ่อนของตนเองจนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ดังที่เรียกว่า โรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune) ทั้งนี้เป็นผลมาจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ร่วมกับการติดเชื้อ หรือการได้รับสารพิษจากภายนอก

ผู้ป่วยจะมีรูปร่างผอม มีอาการของโรคชัดเจน และจำเป็นต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลินเข้าทดแทนทุกวันไปตลอดชีวิต จึงจะสามารถเผาผลาญน้ำตาลได้เป็นปกติ มิเช่นนั้นร่างกายจะหันไปเผาผลาญไขมันแทนจนทำให้ผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรงจะมีการคั่งของสารคีโตน (ketones) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงตายได้รวดเร็ว เรียกว่า ภาวะคั่งสารคีโตน (ketosis)

ผู้ป่วยกลุ่มนี้แต่เดิมเรียกว่า เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (insulin-dependent diabetes mellitus/IDDM)

2. เบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus) เป็นเบาหวานชนิดที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักมีความรุนแรงน้อย มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มพบในเด็ก/วัยรุ่นมากขึ้น ตับอ่อนของผู้ป่วยชนิดนี้ยังสามารถผลิตอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือผลิตได้พอ แต่เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้มีน้ำตาลคั่งในเลือดกลายเป็นเบาหวานได้ ผู้ป่วยชนิดนี้มักมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน สาเหตุอาจเกิดจากกรรมพันธุ์หรืออ้วนเกินไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการชัดเจน และมักไม่เกิดภาวะคีโตซีสเช่นที่เกิดกับชนิดที่ 1 การควบคุมอาหารหรือการใช้ยาเบาหวานชนิดกิน มักได้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติได้ หรือบางครั้งถ้าระดับน้ำตาลสูงมาก ๆ ก็อาจต้องใช้อินซูลินฉีดเป็นครั้งคราว ยกเว้นในรายที่ดื้อต่อยากินอาจต้องใช้อินซูลินตลอดไป

ผู้ป่วยกลุ่มนี้แต่เดิมเรียกว่า เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (non-insulin-dependent diabetes mellitus /NIDDM) และเนื่องจากเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อย เมื่อพูดถึงโรคเบาหวาน จึงมักหมายถึงเบาหวานชนิดนี้

3. เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะอื่น ๆ อาทิ

    เกิดจากยา เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะไทอาไซด์ กรดนิโคตินิก ฮอร์โมนไทรอยด์
    พบร่วมกับโรคหรือภาวะผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น

          - พบร่วมกับโรคติดเชื้อ เช่น คางทูม หัดเยอรมันโดยกำเนิด โรคติดเชื้อไวรัสไซโตเมกะโล (cytomegalovirus)
          - พบร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็งตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมักพบในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด โรคคุชชิง กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง อะโครเมกาลี (acromegaly) ฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma ซึ่งเป็นเนื้องอกของต่อมหมวกไตชนิดหนึ่ง)

ถ้าเกิดจากสาเหตุที่แก้ไขได้ เช่น ผ่าตัดเนื้องอกออกไป หรือหยุดยาที่เป็นต้นเหตุ โรคเบาหวานก็สามารถหายได้

4. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus/GDM) ขณะตั้งครรภ์รกสร้างฮอร์โมนหลายชนิดซึ่งเข้าไปในร่างกายหญิงตั้งครรภ์ ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เป็นเหตุให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนกลายเป็นเบาหวานได้ หลังคลอดระดับน้ำตาลในเลือดมารดามักจะกลับสู่ปกติ

หญิงกลุ่มนี้อาจคลอดทารกตัวโต (น้ำหนักแรกเกิดมากกว่า 4 กก.) มักเป็นเบาหวานซ้ำอีกเมื่อตั้งครรภ์ใหม่ และมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานเรื้อรังตามมาในระยะยาว

อาการ

ในรายที่เป็นไม่มาก ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 200 มก./ดล. ซึ่งพบในกลุ่มเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดีและไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะ หรือตรวจเลือดขณะไปพบแพทย์ด้วยเรื่องอื่น หรือจากการตรวจเช็กสุขภาพ

ในรายที่เป็นมาก ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 200 มก./ดล. ซึ่งพบในกลุ่มเบาหวานชนิดที่ 1 และบางส่วนของเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นถึงขั้นรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อยและออกครั้งละมาก ๆ กระหายน้ำบ่อย หิวบ่อยหรือกินข้าวจุ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง บางรายอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น

ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 อาการต่าง ๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวลดลงฮวบฮาบ (กินเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน) ผู้ป่วยเด็กบางรายอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน ผู้ป่วยบางรายอาจมาโรงพยาบาลด้วยอาการหมดสติด้วยภาวะคีโตแอซิโดชิส (ketoacidosis) ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอายุน้อยและรูปร่างผอม

ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงชัดเจน ส่วนน้อยจะมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น น้ำหนักตัวอาจลดลงบ้างเล็กน้อย บางรายอาจมีน้ำหนักขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอยู่แต่เดิม ในรายที่เป็นเรื้อรังมานาน (ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการปัสสาวะบ่อยมาก่อน) อาจมีอาการคันตามตัว เป็นฝีหรือโรคติดเชื้อราที่ผิวหนังบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรัง หรืออาจมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ตามัวลงทุกที หรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย เจ็บจุกหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อน

มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวานที่ปล่อยปละละเลย ขาดการรักษา หรือดูแลรักษาไม่ถูกต้อง

ภาวะแทรกซ้อนมีทั้งประเภทเฉียบพลัน (เช่น หมดสติ ติดเชื้อรุนแรง) และประเภทเรื้อรัง

ภาวะแทรกซ้อนประเภทเรื้อรัง มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้อยู่เป็นเวลานาน (บางคนอาจใช้เวลา 5-10 ปีขึ้นไป) ทำให้หลอดเลือดแดงทั้งขนาดเล็กและใหญ่แข็งและตีบตัน ส่งผลให้อวัยวะหลายส่วน (เช่น ตา ไต ระบบประสาท เท้า สมอง หัวใจ) ขาดเลือดไปเลี้ยง เป็นเหตุให้อวัยวะเหล่านี้เสื่อมสมรรถภาพ พิการ หรือเสียหน้าที่

ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันโรคต่ำ (เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคได้น้อยลง)

นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะอื่น ๆ เป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีกหลากหลาย

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหรือพบบ่อย ได้แก่

1. ภาวะหมดสติจากเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเฉียบพลันและรุนแรง หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้

สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จะพบในผู้ป่วยเบาหวานที่กินยาหรือฉีดยาเบาหวานสม่ำเสมอ หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ค่อนข้างดีอยู่แต่เดิม ภาวะแทรกซ้อนชนิดนี้มักเกิดจากผู้ป่วยใช้ยาเบาหวานเกินขนาด อดอาหาร กินอาหารน้อยเกินไป หรือกินอาหารผิดเวลานานเกินไป ดื่มแอลกอฮอล์มาก หรือมีการออกแรงกายหนักและนานเกินไป

อาการ ในระยะแรกผู้ป่วยจะรู้สึกหิว ใจสั่น มือสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หงุดหงิด กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น ตาพร่ามัว หรือเห็นภาพซ้อน ถ้าผู้ป่วยรีบกินน้ำตาลหรือน้ำหวาน อาการต่าง ๆ จะทุเลาได้ภายในเวลาสั้น ๆ แต่หากไม่ทำการแก้ไขดังกล่าว ก็จะมีอาการขากรรไกรแข็ง ชักเกร็ง ไม่ค่อยรู้สึกตัวหรือหมดสติ ตรวจเลือดจะพบว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ ตรวจปัสสาวะจะไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ (ดูรายละเอียดใน “ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ”)

นอกจากนี้ ภาวะหมดสติจากเบาหวาน ยังอาจเกิดจากสาเหตุร้ายแรงอื่น ๆ ได้แก่

    ภาวะคีโตแอซิโดซิส (ketoacidosis) พบเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ขาดการฉีดอินซูลินนาน ๆ หรือพบในภาวะติดเชื้อหรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งร่างกายต้องการอินซูลินมากขึ้นร่างกายจะมีการเผาผลาญไขมันแทนน้ำตาลทำให้เกิดการคั่งของสารคีโตนในเลือด จนเกิดภาวะเลือดเป็นกรด (เรียกว่า diabetic ketoacidosis/DKA) ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำอย่างมาก หายใจหอบลึก และลมหายใจมีกลิ่นหอม (กลิ่นของสารคีโตน) มีไข้ กระวนกระวาย มีภาวะขาดน้ำรุนแรง (ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ความดันต่ำ ชีพจรเบาเร็ว) อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ผู้ป่วยจะซึมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งหมดสติ จะตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูง พบน้ำตาลในปัสสาวะและพบสารคีโตนในเลือดและในปัสสาวะ
    ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง (non-ketotic hyperglycemic hyperosmolar coma/NKHHC) มักพบในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เป็นโรคโดยไม่รู้ตัว หรือที่ขาดการรักษา หรือมีภาวะติดเชื้อรุนแรง (เช่น ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ โลหิตเป็นพิษ) หรือมีการใช้ยาบางชนิด (เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ) ร่วมด้วย ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ๆ (สูงเกิน 600 มก./ดล. ขึ้นไป) ผู้ป่วยจะเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง ซึม เพ้อ ชัก หมดสติ โดยก่อนหน้าจะหมดสติเป็นวันหรือสัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย

2. การติดเชื้อ ผู้ป่วยเบาหวานจะเป็นโรคติดเชื้อง่ายเนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำ อาจเป็นการติดเชื้อซ้ำซาก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กลาก โรคเชื้อราเคนดิดา ช่องคลอดอักเสบ เป็นฝีหรือพุพอง เป็นต้น อาจจะเป็นการติดเชื้อรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน หูชั้นนอกอักเสบรุนแรง เท้าเป็นแผลติดเชื้อซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า เป็นต้น หรืออาจจะเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรัง เช่น วัณโรคปอด

3. ภาวะแทรกซ้อนของตา ที่สำคัญคือ จอประสาทตาเสื่อม (retinopathy) เกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่มาเลี้ยงจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาและหลอดเลือดในบริเวณนี้เกิดความผิดปกติแบบค่อยเป็นค่อยไป ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่รู้สึกผิดปกติ จนกระทั่งเป็นมากแล้วก็จะเกิดอาการตามัว ตาบอดได้ ดังนั้นจึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็กตาปีละครั้ง (ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรตรวจตาตั้งแต่อายุครรภ์ 3 เดือนแรก และตรวจเป็นระยะจนกระทั่งหลังคลอด 1 ปี เนื่องจากการตั้งครรภ์อาจทำให้จอประสาทตาเสื่อมมากขึ้น) ถ้าพบเป็นตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจะได้ให้การรักษา (ประกอบด้วยการยิงเลเซอร์ไปที่หลอดเลือดที่ผิดปกติ) ป้องกันตาบอด

นอกจากนี้ ยังอาจพบว่าผู้ป่วยเบาหวานเป็นต้อกระจกก่อนวัย หรือต้อหินเรื้อรัง เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (vitreous hemorrhage) จอตาลอก หลอดเลือดแดงหลักของจอตาอุดตัน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ตาบอดได้

4. ภาวะแทรกซ้อนของไต ที่สำคัญ คือ ไตเสื่อม หรือไตวายเรื้อรัง (nephropathy หรือ chronic renal failure) เกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่มาเลี้ยงไต ทำให้ไตเสื่อมลงแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้า ๆ ในระยะแรกจะพบว่ามีสารไข่ขาว (แอลบูมิน) หลุดออกมาในปัสสาวะจำนวนน้อย (30-299 มก./วัน ซึ่งเรียกว่า microalbuminuria) ระยะนี้ยังมีทางบำบัดเพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมได้ ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสารไข่ขาวในปัสสาวะอย่างน้อยปีละครั้ง หากปล่อยปละละเลยจนไตเสื่อมถึงที่สุด ก็จะกลายเป็นไตวายเรื้อรัง ซึ่งในที่สุดอาจต้องทำการฟอกล้างของเสียหรือล้างไต (dialysis) หรือผ่าตัดปลูกถ่ายไต

5. ภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาท ได้แก่ ระบบประสาทเสื่อม (neuropathy) เนื่องจากหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่มาเลี้ยงระบบประสาทเกิดการแข็งและตีบ ถ้าเกิดกับประสาทส่วนปลายที่เลี้ยงแขนขา ในระยะแรกอาจมีอาการปลายมือปลายเท้าแสบร้อน หรือเจ็บเหมือนถูกเข็มทิ่มแทง มักเป็นมากตอนกลางคืน จนบางรายนอนไม่หลับ อาการจะทุเลาหรือหายได้เมื่อคุมเบาหวานได้ดี

ถ้าปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงต่อไปนาน ๆ ก็จะเกิดอาการชาปลายมือปลายเท้า ซึ่งจะค่อย ๆ ลุกลามสูงขึ้นมาเรื่อย ๆ (คล้ายใส่ถุงมือถุงเท้า) อาการชาดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่หายแม้ว่าต่อมาจะคุมเบาหวานได้ดีขึ้นก็ตาม จนในที่สุดจะไม่มีความรู้สึก จึงเกิดบาดแผลที่เท้าง่ายเมื่อเหยียบถูกของมีคมหรือของร้อน ๆ หรือถูกของแหลมทิ่มตำ เมื่อเกิดบาดแผลก็มีโอกาสติดเชื้ออักเสบเนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำ และเนื่องจากมีภาวะขาดเลือดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ ทำให้แผลหายยาก บางครั้งอาจลุกลามรุนแรง หรือเป็นเนื้อเน่าตาย (gangrene) จำเป็นต้องตัดนิ้วเท้าหรือข้อเท้า เกิดความพิการได้ ผู้ป่วยเบาหวานควรหมั่นดูแลเท้าอย่าให้เกิดบาดแผล และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะจะเสริมให้หลอดเลือดแข็งและตีบมากขึ้น

บางรายอาจมีประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อตาเสื่อม ทำให้กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต มีอาการตาเหล่ หนังตาตก หลับตาไม่สนิท รูม่านตาขยาย มองเห็นภาพซ้อน อาการเหล่านี้มักหายได้เองภายใน 6-12 สัปดาห์

นอกจากนี้ ยังอาจมีความเสื่อมของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic neuropathy) ซึ่งควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะจากภาวะความดันตกในท่ายืน อาการอาหารไม่ย่อยหรือแสบลิ้นปี่จากโรคกรดไหลย้อน ปวดท้อง ท้องเดิน หรือท้องผูกเรื้อรังจากโรคลำไส้แปรปรวน กระเพาะปัสสาวะหย่อนสมรรถภาพ (ทำให้ถ่ายปัสสาวะออกไม่หมด เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง) ต่อมเหงื่อไม่ทำงาน (ทำให้ผิวแห้ง) องคชาตไม่แข็งตัว (erectile dysfunction ซึ่งนอกจากเกิดจากประสาทที่ไปเลี้ยงองคชาตเสื่อมแล้ว ยังเป็นผลมาจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงองคชาตเกิดการแข็งและตีบอีกด้วย)

6. ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้หลอดเลือดตีบตัน ขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญ ๆ ได้แก่ หัวใจ สมอง ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ อ้วน สูบบุหรี่ เป็นต้น ก็ยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงขาและเท้าก็เกิดการตีบตันได้ เรียกว่า "โรคหลอดเลือดแดงขาตีบ" มีภาวะเลือดไปเลี้ยงขาและเท้าไม่พอ ทำให้เกิดอาการปวดขาเวลาเดิน และอาจพบเป็นตะคริวตอนกลางคืนได้บ่อย

7. ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ผู้ป่วยเบาหวานยังอาจเป็นปัจจัยของการเกิดโรคอื่น ๆ อีก เช่น สมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ ภาวะซึมเศร้า หูตึง ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง นิ่วน้ำดี เส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจพิการ (cardiomyopathy ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย) ได้ ภาวะไขมันสะสมในตับ (fatty liver ซึ่งอาจทำให้กลายเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับ) รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับอ่อนมากขึ้น

การวินิจฉัย

สำหรับคนทั่วไป (ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์) หากมีอาการของเบาหวาน (เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย) หรือไม่มีอาการแต่ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะหรือน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หรือเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อโรคนี้ (เช่น อ้วน มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน) ควรส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ดังนี้

1. กรณีผู้ป่วยไม่มีอาการแสดง ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบเจาะที่แขน (venous blood) หลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (fasting plasma glucose/FPG) ซึ่งสามารถแปลผล ดังนี้

    ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG) มีค่าต่ำกว่า 100 มก./ดล. ถือว่าปกติ
    ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG) มีค่าเท่ากับ 100-125 มก./ดล. ถือว่าเป็นระดับน้ำตาลสูงผิดปกติ (impaired fasting glucose/IFG) เรียกว่า กลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน  (categories of increased risk for diabetes) ควรตรวจยืนยันด้วยการทดสอบความทนต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test/OGTT)*
    ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG) มีค่าตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป หรือระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มกลูโคส 2 ชั่วโมงมีค่าตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป ให้สงสัยว่าอาจเป็นเบาหวาน ควรทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FPG หรือ OGTT แล้วแต่กรณี) ซ้ำอีกครั้งในวันหลัง ถ้ายังมีค่าสูงอยู่ในระดับดังกล่าวอีกก็วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน

นอกจากนี้ ยังสามารถวินิจฉัยโรคเบาหวานจากการตรวจพบระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 6.5%** จากการตรวจ 2 ครั้งในต่างวันกัน

2. กรณีผู้ป่วยมีอาการชัดเจน ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบสุ่มตรวจ คือ ตรวจได้ทันทีไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใด ถ้าพบว่ามีค่าตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป ก็สามารถวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวาน (สำหรับหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์)***

1. กรณีผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวาน จะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

ก. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (FPG) มีค่าเท่ากับ 126 มก./ดล. หรือมากกว่าจากการตรวจ 2 ครั้งในต่างวันกัน หรือ

ข. ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) มีค่าเท่ากับ 6.5% หรือมากกว่าจากการตรวจ 2 ครั้งในต่างวันกัน หรือ

ค. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มกลูโคส 2 ชั่วโมง (2-hr plasma glucose) จากการทดสอบความทนต่อกลูโคส (OGTT) โดยการดื่มกลูโคส 75 กรัม มีค่าเท่ากับ 200 มก./ดล. หรือมากกว่าจากการตรวจ 2 ครั้งในต่างวันกัน


2. กรณีผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวานชัดเจน เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย จะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อ

ก. ระดับน้ำตาลในเลือดแบบสุ่มตรวจ (random plasma glucose) มีค่าเท่ากับ 200 มก./ดล. หรือมากกว่า จากการตรวจเพียงครั้งเดียวในช่วงเวลาใดก็ได้

เกณฑ์การตรวจกรองโรคเบาหวานในผู้ที่ไม่มีอาการแสดง

1. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (ดัชนีมวลกาย ≥ 23 กก./ม² ถ้าตรวจพบเป็นปกติ ให้ตรวจซ้ำทุก 3 ปี

2. ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ควรตรวจกรองเบาหวานเมื่ออายุต่ำกว่า 35 ปี หรือควรกรองให้ถี่ขึ้น

    ขาดการออกกำลังกาย
    มีพ่อแม่พี่น้องเป็นเบาหวาน
    เคยตรวจพบว่ามีภาวะเบาหวานแฝง (ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงมีค่า 100-125 มก./ดล. หรือระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มกลูโคส 75 กรัมไปแล้ว 2 ชั่วโมง มีค่า 140 -199 มก./ดล.)
    เคยมีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) หรือคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4 กก.
    มีความดันโลหิตสูง (≥ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป)
    มีไขมันเอชดีแอล (HDL) <35 มก./ดล. และ/หรือไตรกลีเซอไรด์ >250 มก./ดล.
    มีโรคหรือภาวะอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง ผิวหนังเป็นปื้นหนาสีน้ำตาลหรือดำ (acanthosis nigricans****) เป็นต้น
    มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดแข็งและตีบ (vacular disease)

* วิธีทดสอบ ให้ผู้ป่วยอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อน 1 ครั้ง แล้วให้ผู้ป่วยดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม ทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มน้ำตาลไปแล้ว 1, 2 และ 3 ชั่วโมง โดยทั่วไปนิยมใช้ค่าน้ำตาลในเลือดหลังดื่มกลูโคสไปแล้ว 2 ชั่วโมง เป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัย (ค่าปกติต่ำกว่า 140 มก./ดล. ถ้ามีค่า 140-199 มก./ดล. ถือว่าเป็น “กลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน” ถ้ามีค่าตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไปถือว่าเป็นเบาหวาน) วิธีนี้จะใช้เฉพาะในรายที่ตรวจพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงผิดปกติ (IFG) และหญิงหลังคลอดที่เคยตรวจพบว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus/GDM)
ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าผู้ป่วยมีประวัติกินยาที่อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงอยู่ก่อน เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด สเตียรอยด์ กรดนิโคตินิก เฟนิโทอิน เป็นต้น ควรให้ผู้ป่วยงดยาก่อนที่จะทำการตรวจเลือด

** ค่าปกติต่ำกว่า 5% ถ้ามีค่า 5.7-6.4% ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน

***สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ใช้เกณฑ์ข้อที่ 1 ก. และ 2 ก. ในการวินิจฉัยได้เช่นเดียวกัน
ส่วนระดับน้ำตาลในเลือดจากการทดสอบความทนต่อกลูโคส โดยการดื่มกลูโคส 100 กรัม (100 g OGTT) ใช้เกณฑ์ดังนี้
1. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ≥ 95 มก./ดล.
2. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มกลูโคส 1 ชั่วโมง ≥ 180 มก./ดล.
3. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มกลูโคส 2 ชั่วโมง ≥ 155 มก./ดล.
4. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มกลูโคส 3 ชั่วโมง ≥ 140 มก./ดล.
การวินิจฉัยภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) ต้องมีค่าน้ำตาลสูงตามเกณฑ์ดังกล่าว ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป

**** ผิวหนังเป็นปื้นหนาสีน้ำตาลหรือดำคล้ายกำมะหยี่ พบบ่อยที่บริเวณหลังคอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อนิ้วมือ ใต้นม ต้นขาด้านใน รอบช่องคลอด เป็นต้น ซึ่งมักเป็นพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง (แบบสมมาตร) บางครั้งอาจมีติ่งหนัง (skin tag) อยู่ในหรือรอบ ๆ บริเวณที่เป็นปื้นหนา

 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า