10 เมนูขี้เมาญี่ปุ่นโหวตว่า แก้เมาค้างได้ดีนักนอกจากเครื่องดื่มแก้เมาค้างที่มีขายกันทั่วไปแล้ว ก็ยังมีเมนูเด็ดแบบบ้านๆ เป็นอีกตัวเลือกที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น ไปดูกันว่ามีเมนูอะไรบ้าง
ญี่ปุ่นถือเป็นอีกหนึ่งประเทศในเอเชียที่ติดอันดับท็อปเท็นทางด้านการดื่มหนัก แต่ว่าพวกเค้าก็ยังไปทำงานกันได้ทุกวัน
แก้อาการเมาค้าง
อันดับที่ 10 ผลไม้ 48 โหวต
อันดับที่ 9 เจลลี่ 51 โหวต
อันดับที่ 8 ซุปเต้าหู้ (ยูโดฟุ) 52 โหวต
อันดับที่ 6 นิวเมง 56 โหวต
อันดับที่ 6 มิโซะซุป (มิโซะชิรุ) 56 โหวต
อันดับที่ 5 ซุปผัก (ยะไซซุปปุ) 59 โหวต
อันดับที่ 4 โยเกิร์ต 61 โหวต
อันดับที่ 3 อุด้ง 61 โหวต
อันดับที่ 2 ข้าวต้มทรงเครื่อง (โซซุย) 70 โหวต
อันดับที่ 1 ข้าวต้มกุ๊ย (โอคาหยุ) 73 โหวต
เมนูแก้อาการเมาค้างทั้งสิบอย่างนี้ถูกโหวตโดยขี้เมาญี่ปุ่น
ข้อควรระวัง หรือลักษณะอาการที่ควรพบแพทย์
หากมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียนมาก ใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ความดันโลหิตลดลง ห้องร่วงรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และอ่อนเพลีย เมาค้างเป็นนานกว่า 1 วัน ให้รีบไปพบแพทย์
วิธีป้องกันอาการ “เมาค้าง”
ก่อนดื่ม
• ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง เพราะอาหารในกระเพาะ จะช่วยป้องกันไม่ให้แอลกอฮอล์ ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป เตรียมตัวให้พร้อมด้วยการกินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น นม หมูทอด เค้ก ขนมหวาน เนย หรืออื่นๆ จะได้ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ไม่ให้แอลกอฮอล์ซึมผ่านสู่อวัยวะต่างๆ ได้เร็วนักแล้วก็จงตบท้ายด้วยอาหารประเภทโปรตีน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อปลา ไก่ ไข่ นม ถั่ว เป็นต้น
• ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSIDS หรือไอบูโพรเฟนก่อนเมแอลกอฮอล์ เพราะยาจะมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์prostaglandin ที่ทำให้เกิดอาการปวด แต่ไม่ควรรับประทานพาราเซตามอลโดยไม่จำเป็นขณะดื่ม หรือก่อนนอนหลังจากดื่ม เพราะทั้งแอลกอฮอล์และพาราเซตามอลมีอันตรายต่อตับ เมื่อรับประทานพร้อมกันจะอันตรายมากขึ้น
• ปัจจุบันนี้มีเครื่องดื่มป้องกันอาการเมาค้างที่ดื่มก่อนไปดื่มแอลกอฮอล์ด้วยก็พอจะช่วยได้ มักขายตามร้านสะดวกซื้อ
ระหว่างขณะดื่ม
• ควรทานอาหาร/กับแกล้มของขบเคี้ยวสลับกับการดื่มแอลกอฮอล์ จะช่วยชะลอการเมาได้มาก แต่ก็ควรดื่มให้น้อยด้วย
• เลี่ยงอาหารประเภทไขมัน ขณะดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้อาเจียนได้ง่าย
• หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชนิดที่ผสมเข้าด้วยกัน
• เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มน้ำตามด้วย เพื่อจะได้จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์เข้าสู่เส้นเลือด และป้องกันอาการร่างกายขาดน้ำ
• การป้องกันในระหว่างดื่ม ถ้ามีโอกาสได้ถือเหล้าติดมือไปฝากในวงเหล้า ถือว่าท่านเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ในการดื่มได้ ดังนั้นควรเลือกเหล้าชนิดที่มีดีกรีอ่อนหน่อย จะได้ช่วยให้กระบวนการเมตาบอลิซึมทำงานเผาผลาญแอลกอฮอล์ได้ดี แล้วยิ่งถ้าได้ดื่มเหล้าที่แช่เย็นเจี๊ยบแบบที่เพิ่งออกมาจากช่องฟรีซในตู้ เย็นได้ นอกจากจะทำให้ดื่มได้ไม่บาดคอแล้วยังช่วยให้ดื่มได้นานโดยไม่เมาเร็วเกินไป ด้วย
หลังดื่ม
• ก่อนกลับบ้านถ้าเมาต้องไม่ขับรถ ควรจะดื่มน้ำส้ม เพราะวิตามินซีจะช่วยเร่งการเผาผลาญอาหาร หรือจะดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ที่พวกนักกีฬาดื่มกันก็ไม่เลว
• ควรดื่มน้ำมากๆ ก่อนเข้านอนด้วย เพื่อช่วยให้การขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย และลดการกระตุ้นให้ร่างกายดึงน้ำจากสมองมาใช้มีผลให้สมองเกิดการหดตัว
• ควรดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำผสมน้ำตาลเกลือแร่ก่อนเข้านอน เนื่องจากแอลกอฮอล์เข้าไปแทนที่น้ำตาลในตับระดับน้ำตาลในร่างกายจึงลดลง ทำให้คุณเกิดอาการเวียนศีรษะและอ่อนเพลีย